ROUNDABOUT METERING SIGNAL DESIGN : A CASE STUDY OF DEMOCRACY MONUMENT ROUNDABOUT

Journal article


Authors/Editors


Strategic Research Themes

No matching items found.


Publication Details

Author listSurachodkriangkrai, N.;Karoonsoontawong, A.

Publication year2015

Volume number7

Issue number1

Start page194

End page209


Abstract

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการออกแบบสัญญาณไฟ จราจรแบบมิเตอร์ริงที่วงเวียนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้กับวงเวียนเดิมที่ มีปริมาณการจราจรสูงและมีรูปแบบการไหลที่ไม่สมดุล ทำให้ไม่สามารถควบคุมด้วยหลักการให้ทางของวงเวียนได้ งานวิจัยนี้ได้เลือกวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ปัจจุบันได้ใช้ระบบ สัญญาณไฟจราจร เป็นกรณีศึกษา ด้วยการติดตั้งสัญญาณไฟในเส้นทางเข้าสู่วงเวียนทิศทางหลัก และติดตั้งขดลวดตรวจจับ (Loop Detector) ใต้ผิวจราจรในเส้นทางเข้าสู่วงเวียนในทิศทางรองโดยจะทำงานเมื่อแถวคอยของรถ ในทิศทางรองยาวถึงระยะที่ได้ติดตั้งขดลวดตรวจจับ (Loop Detector) ทั้งนี้ เพื่อสร้างช่องว่างในกระแสจราจรในวงเวียนให้รถในเส้นทางรองสามารถเข้าสู่วง เวียนได้ จากนั้นทำการทดสอบด้วยโปรแกรมแบบจำลองการจราจร TSIS-CORSIM ที่ระยะต่างๆ ของการติดตั้งขดลวดตรวจจับ เพื่อหาระยะที่ให้ค่าประสิทธิภาพการจราจรดีที่สุด (ค่าความเร็วเฉลี่ย, ค่าความล่าช้ารวม และ ค่าการเคลื่อนตัว) ทั้งในเวลาเร่งด่วนและนอกเวลาเร่งด่วน โดยพบว่า ที่ระยะการติดตั้งขดลวดตรวจจับ (Loop Detector) 120 ฟุต (36.58 เมตร) นั้น ให้ค่าประสิทธิภาพดีที่สุด วงเวียนที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบมิเตอร์ริงที่ระยะการติดตั้งขดลวดตรวจ จับที่ให้ค่าประสิทธิภาพดีที่สุดนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวงเวียนที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร พบว่า มีความล่าช้ารวมน้อยกว่า, ความเร็วเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าโดยการเคลื่อนที่โดยรวมของรถมีค่าสูงกว่า ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สัญญาณไฟจราจรแบบมิเตอร์ริงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพให้ กับวงเวียนที่มีปริมาณรถจำนวนมากและมีรูปแบบการไหลที่ไม่สมดุลได้


Keywords

Loop detector, Metering Signal, The Democracy Monument Roundabout, Unbalanced flow pattern


Last updated on 2022-06-01 at 15:34