EVALUATION OF REVERSIBLE LANE OPERATION: A CASE STUDY OF TUB CHANG TOLL PLAZA
Journal article
Authors/Editors
Strategic Research Themes
No matching items found.
Publication Details
Author list: นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์;ทรรศนะ บุญอยู่
Publication year: 2017
Journal: วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต (2286-668X)
Volume number: 7
Issue number: 1
Start page: 51
End page: 62
ISSN: 2286-668X
URL: https://www.tci-thaijo.org/index.php/kbej/article/view/89469/74373
Abstract
บทความนี้นําเสนอผลการประเมินด้านวิศวกรรมจราจรของการจัดการจราจร ด้วยวิธีการเปิดใช้ช่อง จราจรแบบสวนกระแส (Reversible lane, RL) บริเวณหน้าด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเวลาเร่งด่วน 07:00-08.00 น. ในทิศทางขาเข้าสู่กรุงเทพโดยการเปลี่ยนช่องทางขาออกไปอยุธยา 1 ช่องให้เป็นทิศขาเข้าและมีความยาวของระยะการเปิดช่องจราจรแบบสวนกระแสเท่ากับ 900 เมตร ซึ่งผลจากการประยุกต์ใช้แบบจําลองด้านการจราจรแบบจุลภาคในการประเมินผลประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมของการจัดช่องRL เพื่อเปรียบเทียบกรณีที่เปิดใช้และไม่เปิดช่อง RL พบว่า การเปิดช่องจราจรแบบสวนกระแสในปัจจุบันสามารถช่วยระบายรถได้มากขึ้นร้อยละ 3.65 ช่วยให้มีความเร็วเฉลี่ยของการจราจรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40 และลดความล่าช้าเฉลี่ยลงร้อยละ 2.68 โดยสัดส่วนที่เหมาะสมในการจัดช่องจราจรแบบสวนกระแสและเริ่มมีผลประโยชน์จากการเปิดช่องจราจรแบบสวนกระแสอยู่ที่สัดส่วนปริมาณจราจรทิศทางมุ่งหน้า กรุงเทพฯ: อยุธยา เท่ากับร้อยละ 70:30 อย่างไรก็ตามผลการประเมินพบว่า ผลประโยชน์จากการเปิดช่องสวนกระแสของด่านฯ ทับช้างมีค่าค่อนข้างน้อย เนื่องจากข้อจํากัดทางด้านกายภาพของด่านที่ไม่สามารถใช้ช่องเก็บเงินของทิศทางตรงข้ามในการช่วยระบายรถด้วยมาตรการ
Keywords
Microscopic Simulation Model, Reversible lane, Tab Chang Toll Plaza