รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPrapassorn Wongdee

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2019

Volume number21

Issue number1

หน้าแรก109

หน้าสุดท้าย126

นอก0859-5127

eISSN2586-9345

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/132380


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิจัยของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครูช่างสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 4 (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 50 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบประเมินความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิจัย และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เป็นฐาน ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบรอบที่ 1 กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557จำนวน 38 คน และ ทดลองรอบที่ 2 กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คน และใช้จัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติที (Dependent samples t—test) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น ได้บูรณาการจัดการเรียนรู้โดยให้แนวคิด และ หลักการวิจัย ควบคู่กับการปฏิบัติกิจกรรมการวิจัย หลักการของรูปแบบเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ความสามารถในการทำวิจัยด้วยการ “ปฏิบัติการทำโครงงานวิจัย” จนครบกระบวนการทำวิจัย โดยผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และเป็นพี่เลี้ยงให้คำชี้แนะ และอิงรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน จัดการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเน้นการปฏิบัติกิจกรรมการวิจัยตามเป้าหมายในแต่ละสัปดาห์ และมีเฟสบุ๊คกลุ่ม เป็นสื่อกลางในการเสนอสื่อการเรียนรู้ สื่อประกอบการบรรยาย ตัวอย่างงานวิจัย กิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนดำเนินการในห้องเรียน สื่อกลางเพื่อเสนอข้อมูลกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและขอคำปรึกษานอกเวลาเรียน แบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 โมดูล ประกอบด้วย 1) กำหนดโจทย์วิจัย 2) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดขอบเขตการวิจัย 4) เครื่องมือวิจัย 5) วิธีดำเนินการวิจัย 6) การเก็บรวบรวมข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูล 7) การเขียนรายงานวิจัย เวลาในการดำเนินการจัดการเรียนรู้รวม 15 สัปดาห์ แต่ละโมดูลมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รับรู้เป้าหมายงาน 2) เรียนรู้หลักการ 3) ฝึกปฏิบัติการวิจัย 4) เสนอผลการปฏิบัติการวิจัย และ 5) รับการประเมินผลการทำวิจัย ข้อเสนอแนะ และปรับปรุง (Formative Assessment) และ เมื่อจัดการเรียนรู้ครบ 15 สัปดาห์แล้วทำการวัดผลความสมบูรณ์และถูกต้องจากการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการวิจัย เพื่อตัดสินผล (Summative Evaluation) จากคะแนนของผู้ประเมินงานวิจัย 2 คน และพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการทำวิจัยอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม


อัพเดทล่าสุด 2022-06-01 ถึง 15:36