การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เพาะปลูกข้าว บริเวณภาคกลางของประเทศไทย
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Oraya Somroop;Visutthathipbhodi Sirinopparatthara;Kanoksuk Chankon;Pariwate Varnakovida
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (1513-4261)
Volume number: 20
Issue number: Special
หน้าแรก: 400
หน้าสุดท้าย: 411
นอก: 1513-4261
eISSN: 2697-5343
URL: https://resgat.sut.ac.th/ojs3/index.php/files/issue/view/4/228
บทคัดย่อ
งานศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เพาะปลูกข้าว บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ช่วงปี ได้แก่ พ.ศ. 2543-2544 พ.ศ. 2553-2556 และ พ.ศ. 2559-2560 มาทำการสกัดเฉพาะพื้นที่ “นาข้าว” แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและวิธีการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อหาพื้นที่ปลูกข้าวคงเดิมที่มีการเพาะปลูกข้าวมาตลอดและพื้นที่ปลูกข้าวที่หายไปในแต่ละช่วงปี ผลการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ปลูกข้าวบริเวณภาคกลาง พบว่า ขนาดพื้นที่ปลูกข้าวมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2560 ในอัตราร้อยละ 19.50 โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงในช่วงปี พ.ศ.2543-2544 ถึง พ.ศ. 2553-2556 (ร้อยละ 16.56) พบว่ามีแนวโน้มลดลงเร็วกว่าช่วงปี พ.ศ. 2553-2556 ถึง พ.ศ. 2559-2560 (ร้อยละ 3.51) โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร และ พิษณุโลก สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวคงเดิมตั้งปี พ.ศ. 2543-2560 พบว่า นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก ยังคงเป็นจังหวัด ที่มีพื้นที่คงเดิมมากที่สุด 3 จังหวัดแรก เช่นกัน
คำสำคัญ
การใช้ประโยชน์ที่ดิน, การตรวจสอบความเปลี่ยนแปลง, ข้าว, ภาคกลาง