ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี : กรณีศึกษายานยนต์ไฟฟ้า ประเภทยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Pornsri Leelaphatthanawong;Tippawan Pinvanichkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: KMUTT Research and Development Journal (0125-278X)
Volume number: 42
Issue number: 2
หน้าแรก: 129
หน้าสุดท้าย: 144
นอก: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/brows1.php?V_ID=37&N_ID=115
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งชี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี กรณีศึกษายานยนต์ไฟฟ้า ประเภทยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) ระเบียบวิธี วิจัยที่ใช้ประกอบด้วยการกำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีการยอมรับ เทคโนโลยี (TAM) และผนวกปัจจัยที่สังเคราะห์ได้จากการทบทวนทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับ การยอมรับการใช้เทคโนโลยี รวมถึงวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สมมติฐานของกรอบแนวคิด คือ ความตั้งใจที่จะใช้งานมีผลต่อการตัดสินใจยอมรับและเลือกใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าการ รับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานการรับรู้ถึงความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อ ความตั้งใจที่จะใช้งาน และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการ รับร้ถู ึงประโยชน์ที่ได้รับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการพัฒนาแบบสอบถามและส่งให้กล่มุ ตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีวิจารณญาณ ซึ่งเจาะจงเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยที่ มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมการใช้ยานยนต์ และผ่านการสอบใบขับขี่ รวบรวมผู้ตอบแบบ สอบถามได้ทั้งสิ้น 419 ราย วิเคราะห์ผลที่ได้โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณ พบว่า ปัจจัยความตั้งใจที่จะใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยการยอมรับนวัตกรรม และเทคโนโลยี ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แสดงการตัดสินใจ Adjusted R-Squared ร้อยละ 35.30 ปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อ ปัจจัยความตั้งใจที่จะใช้งาน ด้วยค่า Adjusted R-Squared ร้อยละ 22.80 และร้อยละ 22.20 ตามลำดับ ขณะที่ปัจจัยการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ ที่จะได้รับด้วยค่า Adjusted R-Squared ร้อยละ 47.40 ส่วนปัจจัยการรับรู้ถึงความเสี่ยง มีอิทธิพลต่อปัจจัยความตั้งใจที่จะใช้งาน และมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการ ยอมรับเทคโนโลยีด้วยค่า Adjusted R-Squared ร้อยละ 2.70 ซึ่งสะท้อนว่ายังมีปัจจัยเสี่ยง อื่นที่ควรนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในการศึกษาในอนาคต
คำสำคัญ
การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี, การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน, การรับรู้ถึงความเสี่ยง, การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ, ความตั้งใจที่จะใช้งาน, ยานยนต์ไฟฟ้า