แนวคิดใหม่ทางวิศวศึกษาสำหรับการเรียนการสอนกลศาสตร์ของแข็ง : การสร้างภาพความเข้าใจผ่านหลักการสำคัญ แผนที่ศาสตร์ และกลยุทธ์การแก้ปัญหา
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Sathaphon Charernsuphachokkul;Pichet Pinit;Anusit Anmanatarkul;Manon Sooklamai;Banchob Orachon
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2019
วารสาร: KMUTT Research and Development Journal (0125-278X)
Volume number: 42
Issue number: 1
หน้าแรก: 23
หน้าสุดท้าย: 54
นอก: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/brows1.php?V_ID=37&N_ID=114
บทคัดย่อ
กลศาสตร์วิศวกรรมสาขากลศาสตร์ของแข็งประกอบด้วยรายวิชาสถิตศาสตร์และกลศาสตร์ ของวัสดุ และเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลและ ศาสตร์วิศวกรรมอื่นๆ การเชื่อมโยงรายวิชาเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นภาพความเข้าใจเป็นหนทาง ที่ช่วยสร้างเสริมการเรียนรู้กลศาสตร์ของแข็ง บทความฉบับนี้นำเสนอแนวคิดใหม่ในการ เชื่อมโยงเนื้อหาในรายวิชาข้างต้นให้เป็นภาพความเข้าใจผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์จาก ประสบการณ์ตรงของผู้เขียน และการทบทวนเอกสาร หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภาพความเข้าใจมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ หลักการสำคัญ แผนที่ศาสตร์ และกลยุทธ์การ แก้ปัญหา องค์ประกอบเหล่านี้ชี้นำไปสู่เป้าหมายของการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลซึ่งมี หลักการสำคัญประกอบด้วย 7 เรื่อง คือ การสมดุล ระบบอ้างอิงและเครื่องหมาย การจำลอง ชิ้นส่วนและภาระสมมูล แผนภาพวัตถุอิสระ ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นกับความเครียด หลักการของเซนต์วีแนนท์ และความหนาแน่นของความเค้น แผนที่ศาสตร์แสดงความเชื่อมโยง ระหว่างหลักการสำคัญ วิธีการให้ได้มาซึ่งสูตร และเหตุผลเบื้องลึกของการจัดเรียงลำดับเนื้อหา ของรายวิชาในกลศาสตร์ของแข็งตามที่ปรากฏในหนังสือที่นิยมใช้อ้างอิงกันโดยทั่วไป และ กลยุทธ์การแก้ปัญหาประกอบด้วย 5 ส่วนคือ ทำความเข้าใจสภาพปัญหา วางแผน ลงมือ แก้ปัญหา ประเมินผลการแก้ปัญหา และคาดการณ์สภาพปัญหา ภาพความเข้าใจสามารถ นำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับศาสตร์ การทวนสอบความเข้าใจ เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในแนวคิดและหลักการสำคัญ การชี้นำการสอนเป็นทีม และ การสร้างสื่อการสอน
คำสำคัญ
กลศาสตร์ของแข็ง, การเชื่อมโยงเนื้อหา, แผนที่ศาสตร์, ภาพความเข้าใจ, วิศวศึกษา