การศึกษาเปรียบเทียบผลของการลวกน้ำร้อนและการนึ่งต่อคุณภาพของกล้วยกรอบ

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSuwit Paengkanya;Surapit Tabtiang;Somkiat Prachayawarakorn;Somchart Soponronnarit

ผู้เผยแพร่Hindawi

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

Volume number24

Issue number1

หน้าแรก49

หน้าสุดท้าย60

จำนวนหน้า12

eISSN1745-4557

URLhttps://ph02.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal/article/view/241389

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

กล้วยกรอบที่แปรรูปด้วยการอบแห้งร่วมกับการทำให้พองมีการหดตัวน้อยและมีเนื้อสัมผัสกรอบ แต่ผลิตภัณฑ์มีสีน้ำตาลคล้ำมาก การเตรียมตัวอย่างโดยการลวกน้ำร้อนและการนึ่งด้วยไอน้ำร้อนช่วยลดการเกิดสีน้ำตาลได้อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานเปรียบเทียบผลของการลวกและการนึ่งต่อคุณภาพของกล้วยกรอบ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาเปรียบเทียบผลของการลวกน้ำร้อนและการนึ่งต่อคุณภาพกล้วยกรอบการทดลองนำกล้วยน้ำว้าสดมาหั่นให้มีความหนา 2.5 mm จากนั้นนำกล้วยแผ่นมาลวกด้วยน้ำร้อนหรือนึ่ง ด้วยไอน้ำร้อน แล้วน้ำกล้วยแผ่นมาแปรรูปด้วย การอบแห้งร่วมกับการทำให้พองด้วยลมร้อน ผลการทดลองพบว่าการลวกและการนึ่งช่วยลดความแน่นเนื้อของโครงสร้างกล้วยสด จึงส่งผลให้กล้วยกรอบที่ผ่านการเตรียมตัวอย่างมีปริมาตรมากกว่าและมีความแข็งน้อยกว่ากล้วยกรอบที่ไม่ผ่านการเตรียมตัวอย่าง การเตรียมตัว อย่างทั้งสองวิธีช่วยลดการเกิดสีน้ำตาลของกล้วยกรอบเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยกรอบที่ไม่ผ่านการเตรียมตัวอย่างกล้วยกรอบที่ผ่านการเตรียมตัวอย่างทั้งสองวิธีมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มระดับอุณหภูมิของการทำให้พองช่วยให้เนื้อสัมผัสของกล้วยกรอบที่มีความแข็งลดลง แต่กล้วยกรอบมีสีน้ำตาลคล้ำมากขึ้นดังนั้น ก่อนแปรรูปกล้วยควรเตรียมตัวอย่างด้วยการลวกด้วยน้ำร้อนหรือการนึ่งและใช้อุณหภูมิการพองไม่เกิน 170 oC


คำสำคัญ

การทำให้พองการนึ่งการลวกน้ำร้อนเนื้อสัมผัสมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยสี


อัพเดทล่าสุด 2022-27-01 ถึง 23:05