การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งThanyaluk Krotpech;Kornvalai Panpae;Mingkhuan Phaksunchai

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2020

Volume number5

Issue number1

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย12

จำนวนหน้า12

URLhttp://brms.bsru.ac.th/download/journal/V5No1/5-1-1.pdf


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี) เรื่อง โครงสร้างอะตอม ของนักเรียนแผนการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ใช้วิธีใดในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แผนการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบางแพปฐมพิทยา จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน แบ้งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), การทดสอบค่า t-tesst แบบ independent และ dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามแบบ 5WH1 มีผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนาการทางการเรียนรู้ปละความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H มีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับที่ดีกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ


คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1Hผลสัมฤทธิ์ด้านการคิดวิเคราะห์


อัพเดทล่าสุด 2022-15-03 ถึง 23:05