การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ร่วมกับตัวทำละลายในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากเหง้าว่านนางคำ
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Pornpun Siramon;Rattiya Weanukul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2020
วารสาร: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (1685-7941)
Volume number: 22
Issue number: 1
หน้าแรก: 40
หน้าสุดท้าย: 44
จำนวนหน้า: 5
นอก: 1685-7941
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/242073
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ร่วมกับตัวทำละลายเอทานอลในการสกัดแยกสารในกลุ่มฟีนอลิกจากเหง้าว่านนางคำโดยศึกษา 3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสกัด ได้แก่ ความเข้มข้นของตัวทำละลายเอทานอล อุณหภูมิ และระยะเวลาในการสกัด จากผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากเหง้าว่านนางคำโดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ร่วมในการสกัด คือการสกัดโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ที่สภาวะนี้ให้ร้อยละผลได้ของสารสกัดเท่ากับ 23.50 ของน้ำหนักแห้ง ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดที่สกัดได้สูงสุดเท่ากับ 120.83 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของน้ำหนักตัวอย่างแห้ง เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบที่ได้จากสภาวะการสกัดที่เหมาะสมนี้พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี โดยมีความเข้มข้นที่กำจัดอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) โดยวิธี DPPH เท่ากับ 7,945.32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เทียบกับน้ำหนักสารสกัดหยาบ
คำสำคัญ
Antioxidant activity, Curcuma aromatica Salisb, DPPH, Phenolic compounds, Ultrasound