ผลการพัฒนาชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งJiratchaya Nualnimnoi, Kuntida Thamwipat and Sopon Meejaleurn

รายการของผู้เผยแพร่จิรัชยา นวลนิ่มน้อย กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และโสพล มีเจริญ

ผู้เผยแพร่วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา

สถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

ชื่อชุดการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 3 ประจำปี 2564 (NCAME 2021)“การฟื้นสภาพและการสร้างใหม่:ทางออกในนวัตกรรมการจัดการหลังโควิด-19”

หน้าแรก1262

หน้าสุดท้าย1274

จำนวนหน้า13

URLhttps://rcim-ncame.rcim.in.th/

ภาษาThai (TH)


ดูบนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (2) พัฒนาชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ (3) เสนอเนวทาง การพัฒนาสื่อ เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อไป ดาเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากผลประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนาเสนอ ผลประเมินการรับรู้ และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทัน สื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งดาเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2559 - 2563 โดยวิธีดาเนิน การวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาสื่อ นาไปใช้ และประเมินผลตามรูปแบบ ADDIE Model โดยได้พัฒนาชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้แก่ สื่อวีดิทัศน์รูปแบบอินโฟกราฟิก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ดาเนินการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 30 คน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ผลการสังเคราะห์งานวิจัย เป็นดังนี้ ผลประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ผลประเมินคุณภาพด้านสื่อการนาเสนอ โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับดี-ดีมาก ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับรับรู้มากที่สุด และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์พบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (2) การพัฒนาชุดเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีคุณภาพดีและสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้ และ (3) แนวทางการพัฒนาสื่อสื่อใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะสื่อรูปแบบสื่อโมชันกราฟิก เทคโนโลยี QR CODE ที่สื่อสารความทันสมัย ใช้กราฟิกแบบสมัยใหม่บนแพลทฟอร์มอินสตาแกรม ยูทูป เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาสื่อในรูปแบบดังกล่าวจะทาให้เกิดความสนใจให้กับสิ่งที่ต้องการนาเสนอ เพิ่มมากขึ้น


คำสำคัญ

Achievement


อัพเดทล่าสุด 2023-01-10 ถึง 07:35