เปรียบเทียบคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะเขือเทศ พันธุ์สแนคสลิม 502 และพันธุ์ PC3 (A9) เพื่อการส่งเสริมอาชีพใหม่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่สูงชายขอบ บ้านบ่อเหมืองน้อย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Piyathas Tongtraibhop,, Thitima Wongsheree and Panida Boonyaritthongchai
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
ชื่อชุด: วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร
เลขในชุด: 52
Volume number: 2
หน้าแรก: 41
หน้าสุดท้าย: 44
จำนวนหน้า: 4
บทคัดย่อ
มะเขือเทศพันธุ์สแนคสลิม 502 (SS) และ PC3 (A9) เป็นพันธุ์ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ร่วมกับบริษัทเอกชน เพื่อสนับสนุนอาชีพให้คนในพื้นที่สูงชายขอบ ที่หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อย อ.นาแห้ว จ.เลย วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะเขือเทศรับประทานสด สองสายพันธุ์ ปลูกในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนส่งจากแหล่งปลูกมายังห้องปฏิบัติเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของข้อมูล 4 ซ้ำ ด้วยการทดสอบทางสถิติ (t-test) มะเขือเทศทั้งสองพันธุ์มีลักษณะผลเป็นทรงกระบอก (cylindrical) แต่พันธุ์ SS ปลายผลมีจุกแหลมเล็กน้อยและบริเวณใกล้กับขั้วผลคอดลง ส่วนพันธุ์ PC3 ปลายผลกลมมน ขั้วผลไม่คอดผลมะเขือเทศทั้งสองพันธุ์มีค่าสี ได้แก่ L*, a*, b*, Chroma และ hue angle ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในผลมะเขือเทศพันธุ์ SS มีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (TSS) อัตราส่วนระหว่างปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) และค่าความเป็นกรด-ด่าง สูงกว่าพันธุ์ PC3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) แต่มะเขือเทศทั้งสองสายพันธุ์ มีปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ (TA) และความแน่นเนื้อ (firmness) ไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่ามะเขือเทศทั้งสองพันธุ์มีสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการไม่แตกต่างกัน สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเป็นการค้าต่อไป
คำสำคัญ: มะเขือเทศผลสด อาชีพใหม่ พื้นที่สูงชายขอบ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง