ปัจจัยที่ส่งต่อระดับความคิดเห็นต่อทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งพีรพงษ์ กาสุริยะ, สันติรัฐ นันสะอาง, สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร, ธัญญภรณ์ มาลี

สถานที่Thailand

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

URLhttp://www.ietech.kmitl.ac.th/DRLETH2021/

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (Pre-service Teacher) ชั้นปีที่ 5 หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพชั้นปีที่ 5 หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 130 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามชนิด แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ซึ่งในเนื้อหาของแบบสอมถามแบ่งออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร และด้านคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ  ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย การคำนวณโดยใช้วิธีสัดส่วนต่อขนาด (Proportional to Size) และ  ในการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี  – Test (Chi-square Test) ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง   เป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า และมีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.00 - 3.49   โดยพบว่าปัจจัยด้าน เพศ ภาควิชา และผลการเรียน ที่แตกต่างกัน มี
ความสัมพันธ์ต่อระดับความคิดเห็นของทักษะการแก้ปัญหา ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารและคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


คำสำคัญ

การเรียนรู้ครุศาสตร์อุตสาหกรรมความคิดเห็นต่อทักษะการเรียนรู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู


อัพเดทล่าสุด 2022-11-02 ถึง 23:05