การสร้างภาวะอยู่สบาย สำหรับอาคารพักอาศัยและสำนักงาน ที่ตั้งอยู่ริมทางหลวง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
- ชีวิตในเมือง Eco (สังคมในอนาคต)
- เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน)
- ประหยัดพลังงาน (พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน)
- พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (รูปแบบการวิจัยเชิงกลยุทธ์)
- ศิลปะและการออกแบบนวัตกรรม (สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์)
- สังคมในอนาคต (สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์)
- สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (รูปแบบการวิจัยเชิงกลยุทธ์)
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สุนารี ลาวัลยะวัฒน์
ผู้เผยแพร่: สภาสถาปนิก
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
Volume number: 1
Issue number: 1
หน้าแรก: 24
หน้าสุดท้าย: 38
จำนวนหน้า: 15
นอก: 2774-0099 (Online)
URL: https://act.or.th/th/home/content-cpd.php?type=6
ภาษา: Thai (TH)
ดูบนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์
บทคัดย่อ
การสร้างภาวะอยู่สบายในงานออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย ความสูง 6 ชั้น ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่ที่มีมลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเสาเข็มคอนกรีต และถนนพหลโยธิน ผลงานออกแบบนี้เป็นการประมวลองค์ความรู้ผสมผสานกันจากหลายปัจจัย ดังนี้
- การแก้ปัญหาในเชิงเทคนิคทางด้านงานออกแบบ เพื่อประหยัดพลังงานที่เปลือกภายนอกอาคาร
- เปลือกนอกของอาคารที่มีความเรียบง่ายในการจัดวางจาก องค์ประกอบของแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ระนาบรูปด้านของอาคาร มีความขัดแย้งกับการออกแบบพื้นที่ภายใน โดยพื้นที่ภายในจะมีความหลากหลายของการใช้วัสดุ
- การสร้างความขัดแย้งระหว่างภาพลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมภายนอกและภายใน ให้ภายนอกคงความเรียบง่ายของเปลือกอาคารแต่พื้นที่ภายในมีความเคลื่อนไหว มีเจตนาในการร้อยเรียงพื้นที่จากพื้นที่ส่วนธุรกิจที่ชั้นล่าง ไปสู่ความเป็นส่วนตัวของพื้นที่พักอาศัยส่วนบน เมื่อความเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้น ความเป็นธรรมชาติก็จะเพิ่มขิ้นตามเป็นพื้นที่คู่ขนานไปพร้อมกัน
- การแทรกพื้นที่สีเขียวเข้าไปในการจัดสรรส่วนต่างๆ ของพื้นที่ เพื่อให้เกิดมิติของการเปิดเผยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลายที่ซ่อนอยู่ภายใน พื้นที่สีเขียวจะสร้างความแตกต่างของการใช้งานแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่สีเขียวบนดิน พื้นที่สีเขียวแนวขนาน พื้นที่สีเขียวใจกลางบ้าน พื้นที่สีเขียวแนวราบบริเวณดาดฟ้า
คำสำคัญ
Elevated green design, Mixed-use architecture, Shading Design, Sustainable design, Tropical design architecture, งานออกแบบอาคารแบบผสมผสาน, แผงกันแดด, พื้นที่สีเขียวบนอาคาร, ภาวะอยู่สบาย, สถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น