การศึกษาพารามิเตอร์ในการกลึงปอกผิวเหล็กกล้าผสมฟรีแมชชีนนิ่ง SUM 23

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งกังสดาล พงษ์วัฒนานุสรณ์, นาคเทพ จรัสสุรีย์ฉาย, ตฤณชาติ นิตยพัฒนากร, รพีพจน์ แซ่เอี้ย, พรพรหม พรหมสุรินทร์, อรจีรา เดี่ยววณิชย์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

หน้าแรก219

หน้าสุดท้าย220

จำนวนหน้า2

URLhttps://ngrc53.cmru.ac.th/page/61baf01dab631010a45d6bd2

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาพารามิเตอร์ความเร็วรอบและอัตราป้อนที่เหมาะสมแก่ การกลึงปอกผิวเหล็กกล้าผสม SUM23 ที่ผ่านการดึงขึ้นรูปเย็น (Cold Drawn) ค่าความแข็งเฉลี่ยอยู่ที่ 207.46 HB โดยพิจารณาจากค่าความหยาบผิวและค่าความเงาของชิ้นงานและรูปแบบการหักเศษที่ได้จากการกลึงที่เหมาะสม ตามมาตราฐาน ISO 3685-1993 จากการศึกษาพบว่าเหล็กกล้าผสม SUM23 มีโครงสร้างจุลภาคที่ประกอบด้วย สารประกอบแมงกานีสซัลไฟล์ช่วยให้เหล็กกล้ามีความอ่อนตัวสามารถตัดผ่านชิ้นงานได้โดยง่าย ในกระบวนการขึ้น รูปนี้ได้ใช้ระยะกินลึก (Depth of Cut) 0.35 มิลลิเมตร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการกลึงละเอียด จึงพบว่าเม็ดอินเสิร์ท เซอร์เม็ทรูปทรง C ไม่ผ่านการเคลือบผิว มุมคายเศษที่ 10 องศา มุมหลบ 7 องศา ขนาดความยาวของมุมตัด 9.6 มิลลิเมตร รูปแบบการหักเศษแบบ PF ซึ่งเหมาะสมสำหรับงานกลึงละเอียด โดยพบว่าอัตราการป้อนที่ (Feed Rate) 0.15 มิลลิเมตรต่อรอบ และความเร็วในการตัด (Cutting Speed) 200 เมตรต่อนาที จะทำให้ได้ผิวงาน ที่เรียบและเศษโลหะ จะขาดออกจากกัน ไม่ยาวรบกวนการทำงานที่เป็นสาเหตุของรอยครูด และจากกระบวนการ ที่เหมาะสม จึงทำให้เวลาในการกลึงปอกสั้นลงและทำให้อายุการทำงานของเครื่องมือตัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-11-02 ถึง 23:05