ซินโครตรอนวิเคราะห์แคลเซียม สามารถระบุแหล่งที่มาของรังนกด้วยเทคนิค XAS
บทคัดย่อของบทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Worawikunya Kiatponglarp, Waraporn Tanthanuch, Pinit Kidkhunthod, Kornkanya Pratumyot
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
URL: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4231889076858404&id=425751100805573
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ซินโครตรอนวิเคราะห์แคลเซียม สามารถระบุแหล่งที่มาของรังนกด้วยเทคนิค XAS
รังนก (Edible bird's nests) ถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย โดยพบปริมาณโปรตีนสูงถึงร้อยละ 50-60 และมีแร่ธาตุหลากหลายชนิด รังนกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามแหล่งที่พบได้แก่ รังนกถ้ำ และรังนกบ้าน โดยรังนกถ้ำสามารถพบได้ทั้งสีขาว สีแดง สีเหลือง และสีเหลืองทอง ส่วนรังนกบ้านมีเฉพาะสีขาวเท่านั้น คุณภาพและราคาของรังนกจึงขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาและสีของรังนกเป็นหลัก
ดร.กรกันยา ประทุมยศ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ศึกษาวิจัยคุณสมบัติเชิงโภชนาการและคุณสมบัติทางโครงสร้างของรักนกแต่ละประเภท ได้แก่ รังนกถ้ำขาว รังนกถ้ำแดง และรังนกบ้าน ที่ได้จากแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน เพื่อระบุอัตลักษณ์ของรังนกแต่ละชนิด พบว่า รังนกทุกชนิดมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีแร่ธาตุหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส โซเดียม และโพแทสเซียม เป็นต้น
การวิเคราะห์แคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตหลักที่พบในรังนกโดยใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (X-ray absorption spectroscopy: XAS) ที่ระบบลำเลียงแสง 5.2 (SUT-NANOTEC-SLRI XAS beamline) ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พบว่า สามารถระบุชนิดของสารประกอบแคลเซียม และสถานะออกซิเดชันของแคลเซียมได้ ทั้งยังสามารถแยกแยะความแตกต่างของสารประกอบแคลเซียมในรังนกที่มาจากบ้านหรือรังนกถ้ำ รวมถึงแยกแยะตามแหล่งที่มาจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และในแง่ของประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซึมธาตุแคลเซียมนั้นโดยทั่วไปชนิดของสารประกอบแคลเซียมจะส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมธาตุแคลเซียมเข้าสู่ลำไส้เล็กและส่งต่อเข้าสู่เซลล์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ข้อมูลจากการระบุชนิดสารประกอบแคลเซียมในรังนกด้วยเทคนิค XAS นี้จะสามารถนำไปประเมินคุณค่าทางโภชนาการในแง่ของประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลซียมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสุขภาพจากแหล่งที่มาของรังนกที่แตกต่างกันได้ในอนาคต
บทความโดย
ดร.วรวิกัลยา เกียรติ์พงษ์ลาภ นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง
ดร.วราภรณ์ ตัณฑนุช นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง
ดร.พินิจ กิจขุนทด ผู้จัดการระบบลำเลียงแสง
ดร.กรกันยา ประทุมยศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง