รูปแบบสมรรถนะครูเกื้อหนุนในระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทางาน สาหรับอาชีวศึกษา
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Kuljira Thongyoy, Sittichai Kaewkuekool and Prachya Peasura
ผู้เผยแพร่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
Volume number: 15
Issue number: 1
หน้าแรก: 41
หน้าสุดท้าย: 57
จำนวนหน้า: 17
นอก: 1905-9450
URL: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/article/view/13355
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุน ในระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทางาน และพัฒนาเครื่องมือประเมินมาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุน การวิจัยมีการดาเนินงานดังนี้ ระยะที่ 1 พัฒนามาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุนในระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทางาน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตามสายงาน ดาเนินการจัดประชุมสนทนากลุ่มซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูล จานวน 23 คน ระยะที่ 2 การจัดทาเครื่องมือสาหรับประเมินมาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุน ดาเนินการจัดประชุมสนทนากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลจัดทาเครื่องมือประเมินสมรรถนะจากผู้เชี่ยวชาญ จานวน 21 คน จากนั้นนาเครื่องมือประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 คน ในการตรวจสอบหาความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาในการประเมินสมรรถนะ ข้อสอบมีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ย เท่ากับ 0.87 และนาเครื่องมือไปทดลองใช้กับครู จานวน 45 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จากสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการขยายและยกระดับการจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคีสู่มาตรฐาน ในกลุ่มภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.77 ผลการวิจัยพบว่าหน้าที่หลักของครูเกื้อหนุนสามารถแบ่งออกเป็น 3 หน้าที่ ได้แก่ 1. เตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนเข้ารับการเรียนรู้ในสถานประกอบการ 2. จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน 3. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยหน่วยสมรรถนะรวมครูเกื้อหนุน มีจานวน 28 หน่วย สมรรถนะของครูเกื้อหนุนสามารถแบ่งออกเป็นสมรรถนะทั่วไป จานวน 12 หน่วย และสมรรถนะตามหน้าที่ จานวน 16 หน่วย เครื่องมือสาหรับการประเมินสมรรถนะของครูเกื้อหนุนเป็นข้อสอบปรนัยตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน จานวน 35 ข้อ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง