การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานบูรณาการร่วมกับสะเต็มศึกษา สำหรับวิชาวัดละเอียด

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSupatcha Sawatpong, Supreeya Siripattanakunkaton and Santirat Nansaarng

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

หน้าแรก235

หน้าสุดท้าย250

จำนวนหน้า16

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานบูรณาการร่วมกับสะเต็มศึกษา สำหรับวิชาวัดละเอียด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานบูรณาการร่วมกับสะเต็มศึกษาในรายวิชาวัดละเอียด เรื่องเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3)เพื่อประเมินทักษะการเรียนรู้ ที่เกิดจากพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานบูรณาการร่วมกับสะเต็มศึกษาทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการนำเสนอ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวัดละเอียด จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย รูปแบบการออกแบบแผนการวิจัยที่ใช้ในการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน โดยสถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent samples) ผลการประเมิณคุณภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 อยู่ในระดับดีมากที่สุด และจากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ ที่เกิดกับนักเรียนมากที่สุด โดยการประเมินตนเองของนักเรียน คือ ทักษะการแก้ปัญหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 และจากการประเมินโดยครูผู้สอน คือ ทักษะการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และทักษะการทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.16 จึงสรุปได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานบูรณาการร่วมกับสะเต็มศึกษา สำหรับวิชาวัดละเอียด เรื่องเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ได้จริง


คำสำคัญ

Learning Activities, Problem Based, STEM Education, Metrology, Vernier Caliper


อัพเดทล่าสุด 2022-28-02 ถึง 23:05