การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยใช้รูปแบบแบบสะเต็มศึกษา สำหรับวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 1

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งKrittapon Kumloon, Santirat Nansaarng, Supreeya Siripattanakunkajorn

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

หน้าแรก493

หน้าสุดท้าย501

จำนวนหน้า9

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาเป็นการศึกษาด้านวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนาแรงงานระดับชํานาญการเฉพาะ สาขาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน (สํานักวิจัยและพัฒนาการศึกษา, 2563) ซึ่งจากผลสํารวจ พบว่า หลักสูตรอาชีวศึกษาถูกออกแบบมาไม่เหมาะกับความพร้อมของนักศึกษา และละเลยทักษะความรู้พื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาซึ่งมักจะมีผลการเรียนระดับมัธยมต้นไม่ดี ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือทักษะ การเขียนแบบเทคนิค ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของงานช่างต้องการพื้นฐานความรู้ด้านเรขาคณิต (ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์, 2559) โดยแนวทางการจัดการศึกษาสะเต็มศึกษา ที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนําความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง ที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิต และ การทํางาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจําทฤษฎี แต่เป็นการสร้าง ความเข้าใจทฤษฎีหรือกฎเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด (สะเต็มศึกษา ประเทศไทย, 2557) ซึ่งมีหลายงานวิจัยที่รองรับประสิทธิภาพ เช่น งานวิจัยของ ปุญญพัฒน์ โคตรบุตร (2560) ได้ทําวิจัย เรื่องการบูร ณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ในการเสริมสร้างผลสําเร็จทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ งานวิจัยของ อับดุลยามีน หะยีขาเดร์(2560) ได้ทําวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนชีววิทยา โดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐาน งานวิจัยของ ธีรรัช จันทรขจร (2561) ได้จัดทําวิจัยเรื่องการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา เป็ นต้น จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทําให้สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่าที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจจัดกระบวนการเรียนรู้ตาม รูปแบบสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ที่เน้นการนําไปใช้จริงต่อการประกอบอาชีพ ช่างอุตสาหกรรม เช่นรายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 1 ซึ่งเป็นวิชาชีพเฉพาะในสาขาช่างกลโรงงาน กลุ่มของช่าง อุตสาหกรรม ดังนั้นจากความสําคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องจัดรูปแบบให้สอดคล้องกับนโยบายการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาประเทศ อีกทั้งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบสะเต็มศึกษานั้นมีความน่าสนใจที่จะนํามาใช้ในการ จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในระดับอาชีวศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความสนใจในการศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบสะเต็มศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 รายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 1 ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-04-03 ถึง 23:05