การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งนันทิยา ศิรินาวี, กรวลัย พันธุ์แพ, มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

Volume number16

Issue number1

หน้าแรก97

หน้าสุดท้าย110

จำนวนหน้า14

นอก1905-9922

URLhttp://edu.msu.ac.th/journal/home/journal_show.php?ID=58


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ)  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired sample t-test และ One Sample t-test

          ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนสอบหลังเรียนร้อยละ 71.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-19-04 ถึง 23:05