การพัฒนาชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และพรปภัสสร ปริญชาญกล
ผู้เผยแพร่: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
Volume number: 24
Issue number: 35
หน้าแรก: 88
หน้าสุดท้าย: 105
จำนวนหน้า: 18
นอก: 0859-9432
URL: https://sju.ac.th/pap_file/21ce3ae463a25a97a218f127838ea972.pdf
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อยอดขาย พัฒนาและหาคุณภาพของชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19 เพื่อประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอน ADDIE Model 5 ขั้นตอน ได้แก่ Analysis Design Development Implementation และ Evaluation เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความพึงพอใจต่อยอดขาย 2) ชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19 3) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา ด้านสื่อการนำเสนอ 4) แบบประเมินการรับรู้ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผลจากการสำรวจผู้ประกอบการกลุ่มนี้จำนวน 24 รายมีความพึงพอใจต่อยอดขายในระดับน้อย ( = 1.79, S.D. = 0.93) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำผลสำรวจมาออกแบบและพัฒนาสื่อ แล้วจึงนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านละ 3 คนประเมินคุณภาพ ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก (
= 4.59, S.D. = 0.20) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (
= 4.63, S.D. = 0.04) จากนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ได้แก่ TikTok, Instagram และแฟนเพจ Facebook ในชื่อ ECT Social Lab และเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่ติดตาม Facebook Fanpage : ECT Social lab โดยคัดเลือกจากผู้ที่เป็นสมาชิกแฟนเพจมาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และยินดีตอบแบบสอบถาม ดำเนินการโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 100 คน ผลประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (
= 4.43, S.D. = 0.16) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.59, S.D. = 0.54) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อโครงการนี้ในระดับมากที่สุด (
= 4.52, S.D. = 0.45) ดังนั้นชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อยอดขาย พัฒนาและหาคุณภาพของชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19 เพื่อประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอน ADDIE Model 5 ขั้นตอน ได้แก่ Analysis Design Development Implementation และ Evaluation เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความพึงพอใจต่อยอดขาย 2) ชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19 3) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา ด้านสื่อการนำเสนอ 4) แบบประเมินการรับรู้ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผลจากการสำรวจผู้ประกอบการกลุ่มนี้จำนวน 24 รายมีความพึงพอใจต่อยอดขายในระดับน้อย (
= 1.79, S.D. = 0.93) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำผลสำรวจมาออกแบบและพัฒนาสื่อ แล้วจึงนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านละ 3 คนประเมินคุณภาพ ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก (
= 4.59, S.D. = 0.20) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (
= 4.63, S.D. = 0.04) จากนั้นผู้วิจัยจึงพัฒนาชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ได้แก่ TikTok, Instagram และแฟนเพจ Facebook ในชื่อ ECT Social Lab และเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่ติดตาม Facebook Fanpage : ECT Social lab โดยคัดเลือกจากผู้ที่เป็นสมาชิกแฟนเพจมาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และยินดีตอบแบบสอบถาม ดำเนินการโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 100 คน ผลประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (
= 4.43, S.D. = 0.16) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.59, S.D. = 0.54) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อโครงการนี้ในระดับมากที่สุด (
= 4.52, S.D. = 0.45) ดังนั้นชุดคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง