ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวในประเทศไทย ปีการศึกษา 2563
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Suntornsan, Sirinakorn, Chudech, Surapong
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
หน้าแรก: 785
หน้าสุดท้าย: 800
จำนวนหน้า: 16
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหวในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6 โรงเรียน โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้นจำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า การคล้อยตามกลุ่ม อ้างอิงเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า การรับรู้ถึงความสามารถในการควบคุมตนเองเกี่ยวกับการประหยัด พลังงานไฟฟ้า ความตั้งใจที่จะประหยัดพลังงานไฟฟ้าและพฤติกรรมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการ ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระดับสูงถึงสูงมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะประหยัดพลังงานมากที่สุด ได้แก่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า รองลงมาคือปัจจัยด้านการรับรู้ถึง ความสามารถในการควบคุมตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและทัศนคติเกี่ยวกับการ ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ปัจจัยทั้ง 3 ตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจที่จะประหยัดพลังงานได้ ร้อยละ 52 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานได้แก่ ปัจจัยด้านความตั้งใจที่จะประหยัด พลังงานไฟฟ้า ปัจจัยด้านความตั้งใจที่จะประหยัดพลังงานไฟฟ้าร่วมกับปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความสามารถใน การควบคุมตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของ พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ร้อยละ 54 ผลการทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนมี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คำสำคัญ: พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้า, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง