รูปทรงและความแข็งของลูกยางแพดที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์ลงบนพลาสติก พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET) และ โพลีคาร์บอเนต (PC)

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPhongyut Junthong

ผู้เผยแพร่2021-06-30

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

Volume number5

Issue number1

หน้าแรก16

หน้าสุดท้าย21

จำนวนหน้า6

นอก2586 - 8985

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ เพื่อหาคุณภาพของงานพิมพ์แพดลงบนพลาสติก ลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET) และ โพลีคาร์บอเนต (PC) ที่ใช้รูปทรงและความแข็งของลูกยางแพดที่แตกต่างกัน โดยการทดลองเริ่มจากการศึกษาข้อมูลและกระบวนการทำลูกยางแพด กำหนดรูปทรงและค่าความแข็งของลูกยางแพดที่ใช้ในการทดลอง โดยลูกยางแพดที่ใช้ในการทดลองจะแบ่งเป็น 3 รูปทรง และแต่ละรูปทรงสามารถแบ่งเป็นช่วงความแข็งได้ 3 ช่วง นำมาทดลองพิมพ์ลงบนพลาสติก PET และ PC ด้วยแม่พิมพ์เพื่อการทดสอบคุณภาพของงานพิมพ์ในด้านต่างๆ คือ ความคมชัดของเส้นตรง ตัวอักษร เส้นโค้ง เม็ดสกรีน และความเรียบของภาพพิมพ์พื้นทึบ จากผลการทดลองพบว่า ลูกยางแพดรูปทรง Cone Shape ที่ค่าความแข็ง 15 – 19 Shore A สามารถพิมพ์งานออกมาได้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดีและให้ผลของคุณภาพงานพิมพ์ลงบนพลาสติกที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งลูกยางจะมีลักษณะของยอดแหลมสูง ส่งผลให้คุณภาพการพิมพ์มีความคมชัดและเกิดฟองอากาศน้อย การทดลองนี้จะช่วยให้งานพิมพ์แพดบนพลาสติก PET และ PC มีคุณภาพของงานพิมพ์ดีขึ้น

คำหลัก  คุณภาพงานพิมพ์ / ระบบการพิมพ์แพด / ลูกยางแพด


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-02-06 ถึง 23:05