ผลของความเชื่อมโยงเชิงโครงสร้างและการประเมินตามรูปแบบของการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ การเรียนรู้เป็นสาคัญที่มีต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน: กรณีศึกษาในรายวิชาการปฏิบัติงาน ทางด้านยานยนต์
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Jackkapan Meearsa*, Saksit Ponkum, Pichet Pinit, Anusit Anmanatarkul, and Sujin Jiracheewanun
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 21
Issue number: 2
หน้าแรก: 54
หน้าสุดท้าย: 65
จำนวนหน้า: 12
นอก: 1685-3954
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/247462
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยน้ีใช้แนวทางของการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome-based education) ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติ ทางด้านยานยนต์ เพ่ือออกแบบกระบวนการของการศึกษาเชิงผลลัพธ์ให้เกิดความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง และให้การประเมินบรรลุ ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามท่ีออกแบบไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมเครื่องกล (ค.อ.บ. 5 ปี) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้มี 5 สมรรถนะหลัก ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการชี้นาตนเอง การตอบสนองและมีส่วนร่วม การอธิบายหลักการทางานทางเทคโนโลยียานยนต์ การปฏิบัติงานทางเทคโนโลยียานยนต์ และการ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดข้ึนทางเทคโนโลยียานยนต์ การออกแบบกระบวนการของการศึกษาเชิงผลลัพธ์ประกอบไปด้วย การออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบการประเมินผลตามผลลัพธ์การเรียนรู้ เคร่ืองมือท่ีใช้ในการประเมินประกอบไปด้วยแบบประเมิน (รูบริค) ใบงาน และการต้ังคาถามเพื่ออธิบายถึงสาเหตุของปัญหาและ การแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลคือสัดส่วนร้อยละของผู้เรียนท่ีบรรลุระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ท่ีคาดหวัง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนในรายวิชาทางด้านไฟฟ้ารถยนต์ จานวน 23 คน จากผลการวิจัยพบว่า ด้านการเรียนรู้ ด้วยการชี้นาตนเอง การตอบสนองและมีส่วนร่วม ผู้เรียนท้ังหมด 23 คน สามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ แรงจูงใจใน การเรียนเกิดจากผู้สอนอธิบายให้ผู้เรียนเห็นถึงภาพรวมของการเรียนการสอนท้ังหมด ผู้เรียนรับทราบเกณฑ์การประเมินทาให้ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นสนใจการเรียนมากย่ิงข้ึน ด้านการอธิบายหลักการทางานทางเทคโนโลยียานยนต์ และการปฏิบัติงาน ทางเทคโนโลยียานยนต์ มีผู้เรียนที่ไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง จานวน 11 คน คิดเป็น 47.8% และจานวน 7 คน คิดเป็น 30.45% ด้านการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดข้ึนทางเทคโนโลยียานยนต์ มีผู้เรียนที่ไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง จานวน 9 คน คิดเป็น 39.13% เนื่องจากข้อจากัดเร่ืองระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ไม่เท่ากัน กรอบเวลาการ จัดการเรียนการสอน ข้อจากัดในการใช้เครื่องมือประเมินเป็นครั้งแรก ทาให้ผู้เรียนบางส่วนไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ท่ี คาดหวังได้ ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้เป็นสิ่งสาคัญท่ีผู้วิจัยต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไปในอนาคต
คาสาคัญ: การศึกษาเชิงผลลัพธ์; ความเชื่อมโยงเชิงโครงสร้าง; การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้; การปฏิบัติงานทางด้านยานยนต์
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง