โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ : การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อปลูกฝังทักษะในศตวรรษที่ 21
บทความปริทัศน์
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วิศิษฎ์ศรี วิยะรัตน์ สริญญา เกิดไพบูลย์คมกฤตย์ ชมสุวรรณ พิเชษฐ์พินิจ อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล เอกรัตน์ รวยรวย สันติรัฐ นันสะอางและมงคล นามลักษณ์
ผู้เผยแพร่: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อย่อของวารสาร: JLIT
Volume number: 4
Issue number: 1
หน้าแรก: 1
หน้าสุดท้าย: 12
จำนวนหน้า: 12
นอก: 2773-9740
eISSN: 2773-9759
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/271583/184131
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ระบบการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อต้อนรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็น ให้แก่ผู้เรียนเพื่อประสบความสำเร็จในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริงทางสังคม และเศรษฐกิจ และผู้เรียนที่มีสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่ดีที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศและระบบสังคมโดยรวม งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษารูปแบบและประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ที่มีการนำร่องในวิทยาลัยในสังกัดของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีมหาวิทยาลัยในบริเวณใกล้เคียงเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการ หลักสูตรของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มีรายวิชาพื้นฐานเช่นเดียวกับสายสามัญ และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขางานช่าง รวมทั้งเกิดทักษะด้านการปฏิบัติงานอย่างเข้มข้นซึ่งอาศัยโครงงานที่หลอมรวมเนื้อหาสาระและทักษะปฏิบัติเข้าด้วยกัน และประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีความเชื่อมโยงกับปัญหาหรือสภาพความเป็นจริงในภาคประกอบการหรือภาคธุรกิจหลักของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าจุดเด่นของโครงการฯ คือ การนำโครงงานมาใช้เป็นแกนในการจัดการเรียนรู้ทั้งในส่วนของรายวิชาและการบูรณาการกับกิจกรรมขนานหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมสมรรถนะ แต่จุดอ่อนคือการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระ และทักษะเฉพาะบางทักษะเท่านั้น ทำให้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม สถานศึกษาควรเน้นเรื่องการบูรณาการการทำงานและการวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง